หน่วยที่ 1



หน่วยที่ 1 ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับนวัตกรรม เทคโนโลยี และสารสนเทศ

                   


ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับนวัตกรรมเทคโนโลยี และสารสนเทศ
นวัตกรรม” หมายถึงความคิด การปฏิบัติ หรือสิ่งประดิษฐ์ใหม่ ๆ ที่ยังไม่เคยมีใช้มาก่อน หรือเป็นการพัฒนาดัดแปลงมาจากของเดิมที่มีอยู่แล้ว ให้ทันสมัยและใช้ได้ผลดียิ่งขึ้น เมื่อนำ นวัตกรรมมาใช้จะช่วยให้การทำงานนั้นได้ผลดีมีประสิทธิภาพและประสิทธิผลสูงกว่าเดิม ทั้งยังช่วย ประหยัดเวลาและแรงงานได้ด้วย
     นวัตกรรม แบ่งออกเป็น 3 ระยะ คือระยะที่ 1 มีการประดิษฐ์คิดค้น (Innovationระยะที่ 2 พัฒนาการ (Development) ระยะที่ 3 การนำเอาไปปฏิบัติในสถานการณ์ทั่วไป

      ประเภทของนวัตกรรม
 นวัตกรรมมี  2  ประเภท  คือ
         1.    นวัตกรรมที่เป็นสิ่งใหม่ทั้งหมด
          2.   นวัตกรรมที่เป็นสิ่งใหม่บางส่วน อาจเป็นของเก่าที่ใช้ไม่ได้ผลในอดีต  แต่นำมาปัดฝุ่น
ปรับปรุงใหม่หรือเป็นของปัจจุบันที่เราทำการปรับปรุงให้ดีขึ้น

หลักสำคัญในการนำนวัตกรรมเข้ามาใช้
1.    จะต้องเป็นสิ่งใหม่ทั้งหมดหรือบางส่วน
2.   มีการนำวิธีการจัดระบบมาใช้ โดยพิจารณาองค์ประกอบทั้งส่วนข้อมูลที่ใส่เข้าไป กระบวนการ และผลลัพธ์ ให้เหมาะสมก่อนที่จะทำการเปลี่ยนแปลง
3.   มีการพิสูจน์ด้วยการวิจัย หรืออยู่ระหว่างการวิจัยว้า จะช่วยให้การดำเนินงานบางอย่างมีประสิทธิภาพสูงขึ้น
4.   ยังไม่เป็นส่วนหนึ่งของระบบงานในปัจจุบัน หากกลายเป็นส่วนหนึ่งของระบบงานที่ดำเนินอยู่ในขณะนี้ ไม่ถือว่าเป็นนวัตกรรม

 หลักสำคัญในการนำนวัตกรรมเข้ามาใช้
1.   จะต้องเป็นสิ่งใหม่ทั้งหมดหรือบางส่วน
2.   มีการนำวิธีการจัดระบบมาใช้ โดยพิจารณาองค์ประกอบทั้งส่วนข้อมูลที่ใส่เข้าไป กระบวนการ และผลลัพธ์ ให้เหมาะสมก่อนที่จะทำการเปลี่ยนแปลง
3.   มีการพิสูจน์ด้วยการวิจัย หรืออยู่ระหว่างการวิจัยว้า จะช่วยให้การดำเนินงานบางอย่างมีประสิทธิภาพสูงขึ้น
4.    ยังไม่เป็นส่วนหนึ่งของระบบงานในปัจจุบัน หากกลายเป็นส่วนหนึ่งของระบบงานที่ดำเนินอยู่ในขณะนี้ ไม่ถือว่าเป็นนวัตกรรม

แนวคิดที่ทำให้เกิดนวัตกรรมทางการศึกษา
         1.นวัตกรรมนั้นถือเป็นสิ่งแปลกใหม่ จึงส่งผลโดยตรงต่อความท้าทายของผู้ทำการวิจัยที่จะมาทำการวิจัย
         2.ผู้ที่ทำการวิจัยต้องการพิสูจน์เพื่อให้เห็นผลว่าจะสามารถใช้ได้ผลจริงหรือไม่อย่างไร
         3.มีเหตุปัจจัยโดยตรงจากการทดลองและวิจัยเพื่อที่นำมาเพื่อแก้ปัญหาทางการศึกษา
      
ความหมายของนวัตกรรมการศึกษา
นวัตกรรมทางการศึกษา” (Educational Innovation) หมายถึง การนำเอาสิ่งใหม่ซึ่งอาจจะอยู่ในรูปของความคิดหรือการกระทำ รวมทั้งสิ่งประดิษฐ์ก็ตามเข้ามาใช้ในระบบการศึกษา เพื่อมุ่งหวังที่จะเปลี่ยนแปลงสิ่งที่มีอยู่เดิมให้ระบบการจัดการศึกษามีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น ประเภทของนวัตกรรมการศึกษา มี 5 ประเภทได้แก่
     1.นวัตกรรมด้านสื่อสารการสอน
     2.นวัตกรรมด้านวิธีการจัดการเรียนการสอน
     3.นวัตกรรมด้านหลักสูตร
     4.นวัตกรรมด้านการวัดและการประเมินผล
     5.นวัตกรรมด้านการบริหารจัดการ

แนวคิดพื้นฐานของนวัตกรรมทางการศึกษา
ปัจจัยสำคัญที่มีอิทธิพลอย่างมาก ต่อวิธีการศึกษา ได้แก่แนวความคิดพื้นฐานทางการศึกษาที่เปลี่ยนแปลงไป อันมีผลทำให้เกิดนวัตกรรมการศึกษาที่สำคัญๆ พอจะสรุปได้4 ประการ คือ
   1.  ความแตกต่างระหว่างบุคคล (Individual Different)
   2. ความพร้อม (Readiness)
   3. การใช้เวลาเพื่อการศึกษา
   4. ประสิทธิภาพในการเรียน

ความหมายของเทคโนโลยี
เทคโนโลยี หมายถึง ใช้เครื่องมือให้เหมาะสมกับสถานการณ์ในการแก้ปัญหา ส่งผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงพัฒนาคุณภาพ และประสิทธิภาพในกิจการต่างๆ เหล่านั้น และวิชาการที่ว่าด้วยการนำความรู้ทางวิทยาศาสตร์ มาใช้ในกิจการด้านต่างๆ จึงเรียกกันว่า วิทยาศาสตร์ประยุกต์หรือนิยมเรียกกันทั่วไปว่า เทคโนโลยี” (boonpan edt01.htm)
เทคโนโลยีทางการศึกษา (Educational Technology) คือ ศาสตร์ที่ว่าด้วยวิธีการทางการศึกษา ครอบคลุมระบบการนำวิธีการ มาปรับปรุงประสิทธิภาพของการศึกษาให้สูงขึ้นเทคโนโลยีทางการศึกษาครอบคลุมองค์ประกอบ 3 ประการ คือ วัสดุ อุปกรณ์ และวิธีการ (boonpan edt01.htm)

เป้าหมายของเทคโนโลยีการศึกษา
     1.    การขยายพิสัยของทรัพยากรของการเรียนรู้
     2.    การเน้นการเรียนรู้แบบเอกัตบุคคล
     3.    การใช้วิธีวิเคราะห์ระบบในการศึกษา
     4.     พัฒนาเครื่องมือ-วัสดุอุปกรณ์ทางการศึกษา

เทคโนโลยีทางการศึกษากับการจัดการศึกษา
            เทคโนโลยีทางการศึกษาส่งผลโดยตรงกับการจัดการศึกษา ทำให้ระบบการจัดการศึกษเกี่ยวกับเรื่องการเรียนการสอนมีความสำคัญมากยิ่งขึ้น สนองในเรื่องความแตกต่างในระดับบุคลที่สามารถใช้เทคโนโลยีในการสืบค้นข้อมูลทางการศึกษาได้ ทั้งยังส่งผลให้มีการจัดการศึกษาที่ตั้งอยู่บนรากฐานของหลักวิธีการทางด้านวิทยาศาสตร์ที่มีการพิสูจน์ ทดลองใช้  เพื่อให้ได้มาซึ้งผลสรุปที่ถูกต้องและได้ผลจริง เพื่อให้เกิดความเสมอภาคทาง

 ประโยชน์เทคโนโลยีทางการศึกษากับการจัดการศึกษา
        1.    สามารถทำให้การเรียนการสอนการจัดการศึกษามีความหมายมากขึ้น
  2.     สามารถสนองเรื่องความแตกต่างแต่ละบุคคลได้
  3.     สามารถทำให้การจักการศึกษาตั้งอยู่บนรากฐานของวิธีการทางวิทยาศาสตร์
  4.     ช่วยให้การศึกษามีพลังมากขึ้น
  5.     สามารถทำให้การเรียนรู้อยู่แค่เอื้อม
        6.     ทำให้เกิดความเสมอภาคทางการศึกษา

นวัตกรรมเทคโนโลยีทางการศึกษา
              นวัตกรรมเทคโนโลยีทางการศึกษา  หมายถึง  การนำความก้าวหน้าของวิทยาศาสตร์เทคโนโลยี ทั้งวัสดุ อุปกรณ์เครื่องมือเครื่องจักรกลไก และเทคนิควิธีการต่างๆ มาใช้ประกอบการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน เพื่อมุ่งหวังให้การเรียนการสอนเกิดประสิทธิผลสูงสุดต่อผู้เรียน


ความสัมพันธ์ระหว่างนวัตกรรมและเทคโนโลยีทางการศึกษา
               สิ่งใหม่ๆ ที่ยังอยู่ในระหว่างการศึกษา วิจัย ที่ยังไม่ได้นำเข้ามาใช้ในระบบงานอย่างจริงจัง  และเทคโนโลยีก็คือ เครื่องมือวัสดุต่างๆ ที่นำมาพัฒนางานให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น  อาจแสดงความสัมพันธ์ระหว่างนวัตกรรมและเทคโนโลยีทางการศึกษาได้ดังนี้

แผนภาพแสดงความสัมพันธ์ระหว่างนวัตกรรมการศึกษาและเทคโนโลยีทางการศึกษา
ความหมายของสารสนเทศ
สารสนเทศ (Information) หมาย ถึง ข้อมูลต่างๆ ที่ได้ผ่านการเปลี่ยนแปลงหรือมี การประมวลหรือวิเคราะห์ผลสรุปด้วยวิธีการต่างๆ ให้อยู่ในรูปแบบที่มีความสัมพันธ์กัน มีความหมาย มีคุณค่าเพิ่มขึ้นและมีวัตถุประสงค์ในการใช้งาน (ไพโรจน์ คชชา, 2542)
" กล่าวโดยสรุป สารสนเทศ คือ ข้อมูลที่ผ่านการประมวลผลแล้วสามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้"

ความหมายของระบบสารสนเทศ
            ระบบสารสนเทศ ก็คือ ระบบของการจัดเก็บ ประมวลผลข้อมูล โดยอาศัยบุคคลและเทคโนโลยีสารสนเทศในการดำเนินการ เพื่อให้ได้สารสนเทศที่เหมาะสมกับงานหรือภารกิจแต่ละอย่าง  

ประเภทของระบบสารสนเทศ
        1.  สารสนเทศของหน่วยงานย่อย (Departmental information system)
        2.  ระบบสารสนเทศของทั้งองค์การ (Enterprise information systems)
        3.  ระบบสารสนเทศที่เชื่อมโยงระหว่างองค์การ (Interorganizational information systems-IOS)

แนวทางในการจัดทำระบบสารสนเทศ
        1. การเก็บรวบรวมข้อมูล

         2. การตรวจสอบข้อมูล
         3. การประมวลผล
         4. การจัดเก็บข้อมูล
         5. การวิเคราะห์
         6. การนำไปใช้

คุณค่าของสารสนเทศ
สารสนเทศที่หามาได้นั้นจะมีคุณค่าต่อการใช้หรือไม่นั้นขึ้นอยู่กับปัจจัย 4 ประการ คือ
    1.   เวลา (time) สารสนเทศที่ได้รับ ต้องทันต่อเหตุการณ์ รวดเร็ว ทันต่อความต้องการในการใช้
    2.   ความถูกต้อง (accuracy) สารสนเทศ ต้องปราศจากความผิดพลาด ไม่มีการแต่งเติม จนมีผลต่อ      ความรู้สึกความเข้าใจของผู้ใช้ ความชัดเจน ปราศจากความคลุมเครือ ไม่ต้องอาศัยการตีความเพิ่มเติม และสามารถพิสูจน์ได้
    3.   ความครบถ้วน (completeness) สารสนเทศที่ครบถ้วน จะต้องไม่ขาดหาย และไม่ถูกบิดเบือนจากความจริง มีปริมาณเพียงพอ กับความต้องการในการใช้
    4.   ความต่อเนื่อง (continuation) มีลักษณะการสะสมของข้อมูลอย่างต่อเนื่อง ประสานเป็นเนื้อหาเดียวกัน

ความสำคัญของสารสนเทศ 
         สารสนเทศแท้จริงแล้วย่อมมีความสำคัญต่อทุกสิ่งที่เกี่ยวข้อง เช่น ด้านการเมือง การปกครอง ด้านการศึกษา ด้าน เศรษฐกิจ ด้านสังคม ฯลฯ ในลักษณะดังต่อไปนี้
1.         ทำให้ผู้บริโภคสารสนเทศเกิดความรู้ (Knowledge) และความเข้าใจ (Understanding) ในเรื่องดังกล่าว ข้างต้น
2.        เมื่อเรารู้และเข้าใจในเรื่องที่เกี่ยวข้องแล้ว สารสนเทศจะช่วยให้เราสามารถตัดสินใจ (Decision Making) ใน เรื่องต่างๆ ได้อย่างเหมาะสม
3.         นอกจากนั้นสารสนเทศ ยังสามารถทำให้เราสามารถแก้ไขปัญหา (Solving Problem) ที่เกิดขึ้นได้อย่าง ถูกต้อง แม่นยำ และรวดเร็ว ทันเวลากับสถานการณ์ต่างๆ ที่เกิดขึ้น

ลักษณะสารสนเทศที่ดี
           เนื้อหา (Content)
เวลา (Time)
กระบวนการ (Process)

องค์ประกอบของระบบสารสนเทศคอมพิวเตอร์
ระบบสารสนเทศคอมพิวเตอร์ ประกอบด้วยส่วนประกอบหลัก 6 ส่วน คือ
 (1)  ฮาร์ดแวร์ (Hardware)  หมายถึง เครื่องคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ต่อพ่วง เช่นแป้นพิมพ์ เมาส์ หน่วยประมวลผลกลาง จอภาพ เครื่องพิมพ์ และอุปกรณ์อื่น

 (2) ซอฟต์แวร์ (Software) บางครั้งเรียกว่าโปรแกรม หรือชุดคำสั่งวัตถุประสงค์หลักของซอฟต์แวร์ที่สั่งให้ฮาร์ดแวร์ทำงาน คือการประมวลผลข้อมูล (Data)

(3) ข้อมูลหรือข้อสารสนเทศ (Dataหรือ Information)ในการประมวลผลข้อมูล คอมพิวเตอร์จะประมวลผลตามข้อมูลหรือข้อสนเทศที่ป้อนเข้าสู่หน่วยรับข้อมูล

(4) ผู้ใช้ (User) การทำงานของคอมพิวเตอร์จำเป็นต้องให้ผู้ใช้สั่งงาน

(5) กระบวนการทำงาน (Procedure) เป็นขั้นตอนการทำงานเพื่อให้ได้ผลลัพธ์หรือข้อสนเทศจากคอมพิวเตอร์ ในการทำงานกับคอมพิวเตอร์จำเป็นที่ผู้ใช้จะต้องเข้าใจขั้นตอนการทำงานเพื่อให้ได้งานที่ถูกต้องและมีประสิทธิภาพ

(6) บุคลากรทางสารสนเทศ (Information systems personnel) เป็นส่วนที่สำคัญของระบบสารสนเทศคอมพิวเตอร์ เพื่อจัดการให้คอมพิวเตอร์ทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ ตลอดจนทำงานร่วมกับผู้ใช้ อย่างใกล้ชิด

ประโยชน์ของสารสนเทศ
   1. ให้ความรู้ทำให้เกิดความคิดและความเข้าใจ
   2. ใช้ในการวางแผนการบริหารงาน
   3. ใช้ประกอบการตัดสินใจ
   4. ใช้ในการควบคุมสถานการณ์ หรือเหตุการณ์ที่จะเกิดขึ้น
   5. เพื่อให้การบริหารงานมีระบบ ลดความซ้ำซ้อน


แนวโน้มของนวัตกรรมและเทคโนโลยีการศึกษา

แนวโน้มของการเปลี่ยนแปลงทางด้านต่าง ๆ ทั้งเศรษฐกิจ สังคม และการเมือง มีผลทำให้มีความเปลี่ยนแปลงของนวัตกรรมและเทคโนโลยีในระยะที่ผ่านมาจนถึงปัจจุบันพบว่าประเด็นที่น่าสนใจทำให้มีการเปลี่ยนแปลงไปในลักษณะต่าง ๆ ดังนี้
1.            1. การรวมตัวของสื่อ ทำให้มีการนำสื่อเข้ามาใช้ร่วมกับคอมพิวเตอร์ในลักษณะสื่อประสม เช่น การใช้แผ่นวีดิทัศน์เชิงโต้ตอบ การใช้แผ่นซีดี-รอมบันทึก
2.            2. สื่อขนาดเล็ก สื่อหลายชนิดที่เป็นนวัตกรรมที่ใช้กันอยู่ในขณะนี้เป็นวัสดุและอุปกรณ์
ใช้ได้สะดวกขึ้น เช่น กล้องถ่ายวีดีทัศน์ การผลิตแผ่นซีดี ฯลฯ 

3.          3.ความก้าวหน้าของคอมพิวเตอร์ เครื่องคอมพิวเตอร์ในปัจจุบันนอกจากจะมีนาดเล็กลงแล้ว ยังมีสมรรถนะในการทำงานสูงกว่าเดิมมาก สามารถบรรจุเนื้อที่บันทึกข้อมูลได้มาก ทำงานได้อย่างรวดเร็ว  
       4. ระบบสื่อสารโทรคมนาคม การส่งสัญญาณผ่านดาวเทียมทำให้ผู้เรียนในซึก โลกหนึ่งสามารถเรียนรู้ไปได้พร้อมกับผู้เรียนอีกซีกโลกหนึ่ง โดยการสอนในลักษณะการประชุมทางไกลโดยวีดิทัศน์ (Video Teleconference) 
      5. อินเทอร์เน็ต และเวิร์ล ไวด์ เว็บ อินเทอร์เน็ตเป็นข่ายงานคอมพิวเตอร์ขนาดใหญ่ มากครอบคลุมไปทั่วโลก
      6. ทางด่วนสารสนเทศ (Information Superhighway) เป็นพื้นฐานโครงสร้างสารสนเทศที่เป็นแนวคิดในการที่จะนำข่ายงานคอมพิวเตอร์ความเร็วสูงเชื่อมโยงบ้าน โรงเรียน และอื่นๆ

นวัตกรรมเทคโนโลยีทางการศึกษากับการเปลี่ยนแปลงในอนาคต

ด้วยพัฒนาการของเทคโนโลยีทางการศึกษาสมัยใหม่ที่ไม่หยุดยั้ง  ทำให้วงการศึกษาต้องเปลี่ยนรูปแบบของการดำเนินงาน  โดยเฉพาะอย่างยิ่งบทบาทของการเรียนการสอนที่ต้องปรับเปลี่ยนให้เท่ากันกับการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น ในหลายๆด้าน  เช่น
-                   การใช้คอมพิวเตอร์เป็นอุปกรณ์หลักในการสอน
-                   การใช้ไอซีทีเพื่อบูรณาการการเรียนการสอน
-                   การเรียนกับธรรมชาติสภาพแวดล้อม การเรียนรู้เชิงเสมือน
-                   การเปลี่ยนแปลงบทบาทของผู้สอนและผู้เรียน
-                   การเปลี่ยนแปลงเป็นสถานศึกษาอิเล็กทรอนิกส์

    ตัวอย่างนวัตกรรมเทคโนโลยีทางการศึกษา 
                   1.หนังสือการ์ตูนประกอบเสียงดนตรี
                   2.การเรียนรู้โดยอาศัยแหล่งเรียนรู้เป็นฐาน RBL
                   3.บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน 
                   4.การเรียนแบบ มัลติมีเดีย 
                   5.การใช้เกมคอมพิวเตอร์ในการสอน
                   6.บทเรียนบนเครือค่ายอินเตอร์เน็ต

ประโยชน์ของนวัตกรรมเทคโนโลยีทางการศึกษา
1.            ช่วยให้ผู้เรียนเรียนรู้ได้เร็วขึ้น
2.            ช่วยให้ผู้เรียนเข้าใจบทเรียนเป็นรูปธรรม
3.            ช่วยให้บรรยากาศการเรียนรู้สนุกสนาน
4.            ช่วยให้บทเรียนน่าสนใจ
5.            ช่วยลดเวลาในการสอน
6.            ช่วยประหยัดค่าใช้จ่าย

นวัตกรรมทางการศึกษาที่สำคัญของไทยในปัจจุบัน(2546)
             นวัตกรรม เป็นความคิดหรือการกระทำใหม่ๆ  เกิดขึ้นใหม่ได้เรื่อยๆ สิ่งใดที่คิดและทำมานานแล้ว ก็ถือว่าหมดความเป็นนวัตกรรมไป โดยจะมีสิ่งใหม่มาแทน

นวัตกรรมทางการศึกษาต่างๆที่กล่าวถึงกันมากในปัจจุบัน
· E-learning
          ผศ.ดร.ถนอมพร เลาหจรัสแสง ให้คำนิยาม E-Learning หรือ Electronic Learning ว่า หมายถึง การเรียนผ่านทางสื่ออิเลคทรอนิกส์ซึ่งใช้การ นำเสนอเนื้อหาทางคอมพิวเตอร์ในรูปของสื่อมัลติมีเดียได้แก่ ข้อความอิเลคทรอนิกส์ ภาพนิ่ง ภาพกราฟิก วิดีโอ ภาพเคลื่อนไหว ภาพสามมิติฯลฯ
     คุณธิดาทิตย์ จันคนา ที่ให้ความ หมายของ e-learning หมายถึงการศึกษาที่เรียนรู้ผ่านเครือข่ายอินเตอร์เน็ตโดยผู้เรียนรู้จะเรียนรู้ ด้วยตัวเอง การเรียนรู้จะเป็นไปตามปัจจัยภายใต้ทฤษฎีแห่งการเรียนรู้สองประการคือ เรียนตามความรู้ความสามารถของผู้เรียนเอง และ การตอบสนองใน ความแตกต่างระหว่างบุคคล(เวลาที่แต่ละบุคคลใช้ในการเรียนรู้)การเรียนจะกระทำผ่านสื่อบนเครือข่ายอินเตอร์เน็ต
      
สื่อประสม  (Multi Media)
                สื่อประสม  หมายถึง การนำเอาสื่อหลาย ๆ ประเภทมาใช้ร่วมกันทั้งวัสดุ อุปกรณ์ และวิธีการเพื่อให้เกิดประสิทธิภาพและประสิทธิผลสูงสุดในการเรียนการสอน โดยการใช้สื่อแต่ละอย่างตามลำดับขั้นตอนของเนื้อหา และในปัจจุบันมีการนำคอมพิวเตอร์มาใช้ร่วมด้วยเพื่อการพลิกหรือการควบคุมการทำงานของอุปกรณ์ต่าง ๆ ในการเสนอข้อมูลทั้งตัวอักษร ภาพกราฟิก ภาพถ่าย ภาพเคลื่อนไหวแบบวีดิทัศน์ และเสียง
      
  สื่อประสมออกเป็น
       2 กลุ่ม  คือ
· สื่อประสม (Multimedia 1)  เป็นสื่อประสมที่ใช้โดยการนำสื่อหลายประเภทมาใช้ร่วม
กันในการเรียนการสอน เช่น นำวีดิทัศน์มาสอนประกอบการบรรยายของผู้สอนโดยมีสื่อสิ่งพิมพ์
· สื่อประสม (Multimedia 2)  เป็นสื่อประสมที่ใช้คอมพิวเตอร์เป็นฐานในการเสนอสาร
สนเทศหรือการผลิตเพื่อเสนอข้อมูลประเภทต่าง ๆ เชนภาพนิ่ง ภาพเคลื่อนไหว

การนำสื่อประสมมาใช้ในการศึกษา

      สื่อประสมมีประโยชน์ในด้านการศึกษาหลาย ๆ ประการ เช่น  เป็นการดึงดูดความสนใจ ของผู้เรียนที่สำคัญช่วยให้ผู้เรียนสามารถตรวจสอบย้อนหลังและแก้ไขจุดอ่อนในการเรียนได้   ซึ่งเราสามารถใช้สื่อประสมเพื่อการศึกษาได้ในลักษณะต่าง ๆ เช่น
1. เป็นเกมเพื่อการศึกษา  คือ การใช้เกมในลักษณะของสื่อประสมซึ่งจะเป็นสิ่งที่ดึงดูดความสนใจของผู้เรียนได้เป็นอย่างดีนอกเหนือไปจากความสนุกสนานจากการเล่นเกมตา ปกติ
2. การสอนและการทบทวน
3. สารสนเทศอ้างอิง

              
              
    สื่อหลายมิติ (Hypermedia) เป็นการขยายแนวความคิดของข้อความหลายมิติในเรื่องของการเสนอข้อมูลในลักษณะไม่เป็นเส้นตรง และเพิ่มความสามารถในการบรรจุข้อมูลในลักษณะของภาพเคลื่อนไหวแบบวีดีทัศน์ ภาพกรกฟิกที่เป็นภาพนิ่งและภาพเคลื่อนไหว ภาพสามมิติ ภาพถ่าย เสียงพูด


 ลักษณะของข้อความหลายมิติ (Hypertext)
รูปแบบของข้อความหลายมิติมีลักษณะของการเสนอเนื้อหาที่ไม่เป็นเส้นตรงในมิติเดียว ผู้อ่านสามารถอ่านเนื้อหาข้อมูลในมิติอื่น ๆ ได้โดยไม่จำเป็นต้องเรียงลำดับตามเนื้อหา ทั้งนี้เพราะข้อความหลายมิติมีการตัดข้อมูลเป็นส่วนย่อยเป็นตอน ๆ เรียกว่า จุดต่อ”  (nodes)  และเมื่อผู้อ่านเรียกจุดต่อขึ้นมาอ่านเราเรียกว่า การเลือกอ่าน” (browse) 

 

 จุดประสงค์ของการใช้สื่อหลายมิติ ( Hypermedia)

1.  ใช้เป็นเครื่องมือในการสืบค้น (Browsing)  สืบไปในข้อมูลสารสนเทศหรือบทเรียนต่างๆ
2.   ใช้เพื่อการการเชื่อมโยง (Linking)  โดยผู้ใช้สามารถเชื่อมโยงแฟ้มข้อมูลต่างๆ ภายในระบบเดียวกัน ตลอดจนเชื่อมต่อไปยังเครือข่ายภายนอก เช่น การเชื่อมต่อกับ Intranet    Internet  เป็นต้น
3.    ใช้ในการสร้างบทเรียน (Authoring)   สร้างโปรแกรมนำเสนอรายงานสารสนเทศต่างๆ ซึ่งถือว่าเป็นโปรแกรมที่มีความน่าสนใจ เนื่องจากสามารถนำเสนอได้ทั้งภาพ เสียง และภาพเคลื่อนไหว
                       (วิเศษศักดิ์  โคตรอาชา และคณะ , 2542 : 56)





ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น